สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4, สพป.นศ.4) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีภารกิจในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคลองกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการ
- เป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 เพื่อรองรับการจัดระบบโครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มีเขตความรับผิดชอบอยู่ 5 อำเภอ มีอำนาจตามกำหนดในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดอำนาจหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
- จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
- วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินทุนอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบรวมทั้ง กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
- กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา และที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัด และพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลการจัดการศึกษาสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
- ดำเนินงานและประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ประสาน ส่งเสริมการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ เลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และคณะทำงานด้านการศึกษา
- ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตพื้นที่การศึกษา
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับภารกิจภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
เนื้อหา
สภาพการจัดการศึกษา
ข้อมูลพื้นฐาน
- สภาพที่ตั้ง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตั้งอยู่เลขที่ 160/4 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
- อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอลานสกา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ภูมิประเทศ
- ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา เนินเขา และที่ราบชายฝั่ง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 เขต ดังนี้
- 2.1 เขตเทือกเขาด้านทิศตะวันตกเนื่องจากพื้นที่ด้านทิศตะวันตกมีเทือกเขาเป็นแนวติดต่อกัน คือ เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นเสมือนกำแพงด้านหลังและเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำสำคัญในพื้นที่หลายสาย เช่น คลองขนอม คลองท่าเรือรี คลองท่าควาย คลองท่าเชี่ยว คลองท่าทน คลองท่าหิน คลองกลาย คลองท่าสูง และคลองท่าลาด
- 2.2 เขตที่ราบด้านตะวันออก เป็นพื้นที่ราบตะกอนทราย/สันทราย/ที่ราบชายฝั่ง และชายหาดริมทะเล ลักษณะเป็นที่ราบแคบด้านเหนือ และค่อยกว้างออกเมื่อลงไปทางใต้ แผ่นดินบริเวณนี้ มีลักษณะเป็นสันทรายตามแนวเหนือใต้ มีที่ราบลุ่มปากแม่น้ำเป็นช่วง ๆ โดยมีพื้นที่หาดทรายชายทะเล ความยาวของชายฝั่งทะเลตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นแนวยาวประมาณ 80 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่งอำเภอขนอม อำเภอสิชล และอำเภอ ท่าศาลา
- การคมนาคม
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตั้งอยู่ในบริเวณที่ว่าการอำเภอท่าศาลา เขตเทศบาลตำบลท่าศาลาห่างจากศาลากลางจังหวัด 30 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินพาณิชย์ 16 กิโลเมตร สำหรับทางรถยนต์เป็นพื้นที่ที่มีโครงข่ายmางหลวงที่ดี กล่าวคือ
- 1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรอง ตัดเลียบชายฝั่งทะเลของจังหวัดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีผ่านอำเภอขนอม อำเภอสิชล และอำเภอท่าศาลา เข้าสู่เมืองนครศรีธรรมราช รวมความยาวที่ผ่านพื้นที่ 65 กิโลเมตร
- 2. ทางหลวงจังหวัด ที่สำคัญมีหลายสาย เช่น ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4016 ระหว่างตัวเมืองนครศรีธรรมราช ผ่านอำเภอพรหมคีรี ถึงบ้านนาเหรง อำเภอนบพิตำ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4105 จากทางหลวงแผ่นดินเขตอำเภอสิชล ถึงบ้านเขาใหญ่ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4014 เป็นเส้นแยกจาก ทางหลวงจังหวัดไปอำเภอขนอม ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4140 ระหว่างอำเภอท่าศาลาถึงอำเภอนบพิตำ และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4141 ระหว่างบ้านหน้าทับกับดอนคา-วังลุง เป็นต้น
- เขตพื้นที่บริการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีเขตพื้นที่บริการ ครอบคลุม 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอพรหมคีรี และอำเภอนบพิตำ มีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 133 โรง
- เครือข่ายคุณภาพการศึกษา
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 แบ่งพื้นที่บริหารจัดการด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั้ง 5 อำเภอ ออกเป็น 8 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา (เครือข่าย)โดยมีผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายคุณภาพการจัดการศึกษา ดังนี้
- เครือข่ายขนอม ประกอบด้วยโรงเรียน 17 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดเขา(วันครู 2501)
- เครือข่ายสิชล ๑ ประกอบด้วยโรงเรียน 20 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านบางฉาง
- เครือข่ายสิชล ๒ ประกอบด้วยโรงเรียน 20 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดกลาง
- เครือข่ายท่าศาลา ๑ ประกอบด้วยโรงเรียน 15 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านปากเจา
- เครือข่ายท่าศาลา ๒ ประกอบด้วยโรงเรียน 15 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนท่าศาลา
- เครือข่ายท่าศาลา ๓ ประกอบด้วยโรงเรียน 16 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ
- เครือข่ายพรหมคีรี ประกอบด้วยโรงเรียน 18 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดพรหมโลก
- เครือข่ายนบพิตำ ประกอบด้วยโรงเรียน 12 โรง สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดนาเหรง
โครงสร้างการบริหาร
- จำนวนบุคลากร
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีบุคลากรประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง รวมทั้งสิ้น 1,778 คน ประกอบด้วยข้าราชการและบุคลากรในสถานศึกษา 1,710 คน ข้าราชการและบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 68 คน
ข้อมูลโรงเรียน
- จำนวนโรงเรียนในสังกัด 133 โรง และประเภทบ้านเรียน 3 ครอบครัว แบ่งดังนี้
- จำนวนโรงเรียนจำแนกตามอำเภอ มี ขนอม 17 โรง, สิชล 40 โรง,พรหมคีรี 18 โรง, ท่าศาลา 46 โรง และนบพิตำ 12 โรง.
- จำนวนโรงเรียนแยกตามจำนวนนักเรียน 7 ขนาด มีดังนี้
- นักเรียน 1 - 120 คน จำนวน 68 โรง
- นักเรียน 121 - 200 คน จำนวน 35 โรง
- นักเรียน 201 - 300 คน จำนวน 14 โรง
- นักเรียน 301 - 499 คน จำนวน 7 โรง
- นักเรียน 500 - 1,499 คน จำนวน 8 โรง
- นักเรียน 1,500 - 2,499 คน จำนวน 1 โรง
- และ นักเรียน 2,500 คนขึ้นไป -ไม่มี-
- จำนวนโรงเรียนจำแนกตามกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี เครือข่ายขนอม จำนวน 17 โรง, เครือข่ายท่าศาลา ๑ จำนวน 15 โรง, เครือข่ายท่าศาลา ๒ จำนวน 15 โรง,เครือข่ายท่าศาลา ๓ จำนวน 16 โรง, เครือข่ายพรหมคีรี จำนวน 18 โรง, เครือข่ายสิชล ๑ จำนวน 20 โรง, เครือข่ายสิชล ๒ จำนวน 20 โรง และเครือข่ายนบพิตำ จำนวน 12 โรง.
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จัดการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งจัดการศึกษาถึงชั้นมัธยมต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 3) จำนวน 30 โรง.
- โรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย จำนวน 126 โรง.
- โรงเรียนที่จัดการศึกษาเฉพาะประถมศึกษาเพียงระดับเดียว จำนวน 7 โรง.
- โรงเรียนจัดการศึกษาสองระดับ(เฉพาะก่อนประถมและประถมศึกษา) จำนวน 96 โรง.
- โรงเรียนจัดการศึกษาห้องเรียนต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 1 โรง.
- การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (บ้านเรียน) จำนวน 3 ครอบครัว.
ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา
- บุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 1,710 คน
- บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 68 คน
- บุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า จำนวน ชาย 111 หญิง 230 รวม 341 คน
- บุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน ชาย 284 หญิง 828 รวม 1,112 คน
- บุคลากรที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า จำนวน ชาย 1 หญิง 2 รวม 3 คน
- บุคลากรที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี -ไม่มี-
ข้อมูลนักเรียน
- ข้อมูลนักเรียนแยกเป็นระดับชั้น ดังนี้
- อนุบาล 1 จำนวน 268 คน ห้องเรียน 38 ห้อง
- อนุบาล 2 จำนวน 1,385 คน ห้องเรียน 124 ห้อง
- อนุบาล 3 จำนวน 1,960 คน ห้องเรียน 142 ห้อง
- รวมระดับอนุบาล จำนวน 3,613 คน ห้องเรียน 304 ห้อง
- ประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3,016 คน ห้องเรียน 165 ห้อง
- ประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2,968 คน ห้องเรียน 164 ห้อง
- ประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3,049 คน ห้องเรียน 165 ห้อง
- ประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3,305 คน ห้องเรียน 165 ห้อง
- ประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3,072 คน ห้องเรียน 162 ห้อง
- ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3,147 คน ห้องเรียน 163 ห้อง
- รวมระดับประถมศึกษา จำนวน 18,557 คน ห้องเรียน 984 ห้อง
- มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 721 คน ห้องเรียน 34 ห้อง
- มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 684 คน ห้องเรียน 33 ห้อง
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 601 คน ห้องเรียน 34 ห้อง
- รวมมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2,006 คน ห้องเรียน 101 ห้อง
- รวมทั้งสิ้น 24,176 คน ห้องเรียน 1,389 ห้อง
- การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (บ้านเรียน) จำนวน 3 ครอบครัว รวม 3 คน
ผลสัมฤทธิ ์
- การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับ ดี (47.99) ตามระดับของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 วิชาหลัก 4 วิชา อยู่ในระดับ ดี (40.03) ตามระดับของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 วิชาหลัก 4 วิชา อยู่ในระดับ พอใช้ (30.50) ตามระดับของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผลการประเมินการอ่านออกเสียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 96.34
- ผลการประเมินการอ่านออกเสียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 99.38
- ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 97.81
- ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่อง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 96.89
- ผลการประเมินการขียนคำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 91.65
- ผลการประเมินการเขียนเรื่อง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 95.95
- ผลการประเมินการเขียนคำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 98.59
- ความสามารถในการรู้เรื่องการอ่าน ( Reading Literacy ) แนว PISA ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ระดับดีมาก ร้อยละ 17.90
- ผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ชนะเลิศ 3 รายการ รองชนะเลิศอันดับ ๑ 1 รายการ รองชนะเลิศอันดับ ๒ 1 รายการ เหรียญทอง 16 รายการ เหรียญเงิน 5 รายการ เหรียญทองแดง 6 รายการ เข้าร่วม 2 รายการ
- รวมเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 29 รายการ.